วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2551

รายการเสด็จฯ ทรงนำคณะอาจารย์ และ นนร.ฯ ทัศนศึกษา



กลับหน้าแรก Blog

รายการเสด็จฯ ทรงนำคณะอาจารย์ และ

นนร.รร.จปร. ทัศนศึกษา พ.ศ.๒๕๓๐ – ๒๕๓๖

๒๗ ๓๐ พ.ย.๓๐ กำแพงเพชร ตาก สุโขทัย (นนร. ชั้นปีที่ ๔)

๑๙ ๒๒ พ.ค.๓๑ อีสานใต้ (นครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี) (นนร.ชั้นปีที่ ๕)

๒๒ ต.ค.๓๑ พระนครศรีอยุธยา (นนร. ชั้นปีที่ ๒)

๒๘ ๓๐ ต.ค.๓๑ กาญจนบุรี (นนร. ชั้นปีที่ ๔)

๒๗ ๓๐ พ.ค.๓๒ อีสานเหนือ (ชัยภูมิ มหาสารคาม กาฬสินธุ์ สกลนคร อุดรธานี หนองคาย ขอนแก่ นครราชสีมา) (นนร. ชั้นปีที่ ๔)

๘ ก.ค.๓๒ บริษัทเอ็มอ็มซี สิทธิผล มอเตอร์ บริษัทโซนี่ และทำเนียบเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น (นนร. ชั้นปีที่ ๔)

๑๗ พ.ย.๓๒ พระบรมมหาราชวัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และธนาคารแห่งประเทศไทย (นนร. ชั้นปีที่ ๒)

๒๕ ๒๘ พ.ย.๔๒ ภาคเหนือตอนบน (ล้านนา เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ลำพูน ลำปาง) (นนร. ชั้นปีที่ ๓)

๒๕ ๒๗ พ.ค.๓๓ อีสานใต้ (อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์) (นนร. ชั้นปีที่ ๔)

๒๓ ส.ค.๓๓ โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก ชลบุรี (นนร. ชั้นปีที่ ๕)

๖ พ.ย.๓๓ สามนคร (น่าน แพร่ อุตรดิตถ์) (นนร. ชั้นปีที่ ๓)

๑๐ พ.ย.๓๓ โรงฝึกงานศิลปาชีพ โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา และพระบรมมหาราชวัง (นนร. ชั้นปีที่ ๒)

๒๓ ๒๖ พ.ย.๓๔ ทักษิณฝั่งทะเลตะวันออก (สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส) (นนร. ชั้นปีที่ ๔)

๒๐ ก.ค.๓๔ บริษัทสยามเฆมี จำกัด สมุทรปราการ (นนร. ชั้นปีที่ ๕)

๑๙ ต.ค.๓๔ โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา พระบรมมหาราชวัง และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (นนร. ชั้นปีที่ ๒)

๑๒ พ.ย.๓๔ อู่อารยธรรม (อยุธยา ลพบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม) (นนร. ชั้นปีที่ ๓)

๑๑ ๑๔ มิ.ย.๓๕ บูรพาทิตย์ (ฉะเชิงเทรา ชลบุรี จันทบุรี ตราด ปราจีนบุรี) (นนร. ชั้นปีที่ ๔)

๒๒ ก.ค.๓๕ อาคารสำนักงานใหญ่บริษัทการบินไทย จำกัด (นนร. ชั้นปีที่ ๕)

๓๐ ต.ค. ๒ พ.ย.๓๕ ภาคกลางตอนบน (ชัยนาท อุทัยธานี นครสวรรค์) (นนร. ชั้นปีที่ ๓)

๒๘ พ.ย.๓๕ โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา พระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (นนร. ชั้นปีที่ ๒)*

๒๑ ๒๔ พ.ค.๓๖ หัวเมืองริมฝั่งอันดามัน (ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง) (นนร. ชั้นปีที่ ๔)

๒๖ มิ.ย.๓๖ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ธนาคารไทยพานิชย์ และการสื่อสารแห่งประเทศไทย (นนร. ชั้นปีที่ ๕)

๘ พ.ย.๓๖ โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดาและพระบรมมหาราชวัง (นนร. ชั้นปีที่ ๒)*

* ไม่เสด็จฯ

หมายเหตุหมายเหตุ บทความคัดลอกจากหนังสือ ประวัติศาสตร์ : สายธารสู่อนาคต จัดพิมพ์เนื่องในวโรกาส พลโทหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคาร กองวิชาประวัติศาสตร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า นครนายก ๒๖ ธันวาคม ๒๕๓๖

กลับหน้าแรก Blog

----------



รายชื่อหนังสือ บทความ และเอกสารประกอบการสอน




กลับหน้าแรก Blog

รายชื่อหนังสือ บทความ และเอกสารประกอบการสอน

ของกองวิชาประวัติศาสตร์

พ.ศ.๒๕๓๐ ๒๕๓๖

หนังสือที่กองวิชาประวัติศาสตร์ จัดทำ

คู่มือทัศนศึกษา ๙ เล่ม ได้แก่

ทักษิณฝั่งทะเลตะวันออก. จัดพิมพ์ในวโรกาส พลตรีหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จ ฯ ทรงนำคณาจารย์ และนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ทัศนศึกษาภาคใต้ฝั่งตะวันออก, ๒๓ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๓๔.

บูรพาทิตย์. จัดพิมพ์ในวโรกาส พลตรีหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จ ฯ ทรงนำคณาจารย์ และนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ทัศนศึกษาพื้นที่ภาคตะวันออก, ๑๑ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๓๕.

ภาคกลางตอนบน. จัดพิมพ์ในวโรกาส พลโทหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จ ฯ ทรงนำคณาจารย์ และนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ทัศนศึกษาพื้นที่ภาคกลางตอนบน, ๓๐ ตุลาคม ๒ พฤศจิกายน ๒๕๓๕.

ล้านนา. จัดพิมพ์ในวโรกาส พลตรีหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จ ฯ ทรงนำคณาจารย์ และนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ทัศนศึกษาพื้นที่ภาคเหนือตอนบน, ๒๕ - ๒๘ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๓๒.

สามนคร น่าน แพร่ อุตรดิตถ์. จัดพิมพ์ในวโรกาส พลตรีหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรม-ราชกุมารี เสด็จ ฯ ทรงนำคณาจารย์ และนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ทัศนศึกษาพื้นที่ภาคเหนือ, ๓ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๓๓.

หัวเมืองริมฝั่งอันดามัน. จัดพิมพ์ในวโรกาส พลโทหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จ ฯ ทรงนำคณาจารย์ และนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ทัศนศึกษาพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันตก, ๒๑ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๓๖.

อีสานใต้. จัดพิมพ์ในวโรกาส พลตรีหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จ ฯ ทรงนำคณาจารย์ และนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ทัศนศึกษาพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง, ๒๕- ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๓๓.

อีสานเหนือ. จัดพิมพ์ในวโรกาส พลตรีหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จ ฯ ทรงนำคณาจารย์ และนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ทัศนศึกษาพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน, ๒๗ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๓๒.

อู่อารยธรรม. จัดพิมพ์ในวโรกาส พลตรีหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จ ฯ ทรงนำคณาจารย์ และนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ทัศนศึกษาพื้นที่ภาคกลาง, ๙ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๓๔.

อื่น ๆ

การจัดการศึกษาของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า กับสยามใหม่ เอกสารประกอบการสัมมนา

ประวัติศาสตร์ ในการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง หนึ่งศตวรรษสยามใหม่กับเส้นทางสู่อนาคต, ๑๔ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕.

นายร้อยพระจุลจอมเกล้า, โรงเรียน. ทูลกระหม่อมอาจารย์. จัดพิมพ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พลตรีหญิง สมเด็จ

พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในมหามงคลสมัยที่ทรงรับราชการครบ ๑๐ ปี

(พ.ศ.๒๕๒๓ ๒๕๓๓) และทรงเจริญพระชนมายุ ครบ ๓ รอบ (๒ เมษายน ๒๕๓๔)

นครนายกกับสงครามโลกครั้งที่ ๒ รายงานการค้นคว้าเสนอในการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง ภาษากับ

ประวัติศาสตร์ และความเคลื่อนไหวในวิชาประวัติศาสตร์ไทย, ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๓ (อัดสำเนา)

เสนาศึกษา ฉบับเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสครบรอบ ๑๐๐ ปี แห่งวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ

ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เล่ม ๖๐ ตอน ๑ (กันยายน พฤศจิกายน ๒๕๓๖)

ผลงานทางวิชาการกองวิชาประวัติศาสตร์. (พ.ศ.๒๕๓๐ ๒๕๓๖)*

พลโทหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

คำนำ ใน ล้านนา (๒๕๓๒), อีสานเหนือ (๒๕๓๒), สามนคร (๒๕๓๓), อีสานใต้ (๒๕๓๓), ทักษิณฝั่งทะเลตะวันออก (๒๕๓๔), อู่อารยธรรม (๒๕๓๔), บูรพาทิตพย์ (๒๕๓๕), ภาคกลางตอนบน (๒๕๓๕), หัวเมืองริมฝั่งอันดามัน (๒๕๓๖).

----------------------------------

* เอกสารประกอบการสอนระบุเฉพาะปีที่แจก นนร.ครั้งแรก

บทความ

บางเรื่องเกี่ยวกับสหรัฐอเมริกาจากสายตาผู้มาเยือน ใน เสนาศึกษา เล่ม ๕ ตอน ๔ ๕ เดือน ก.พ. พ.ค.

๓๖ : หน้าพิเศษ ๑ ๑๒.

โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ากับสยามใหม่ในช่วง พ.ศ.๒๔๓๐ ๒๔๗๕เสนาศึกษา เล่ม ๕๘ ตอน

๔ (ก.พ. มี.ค.๒๕๓๕) หน้าพิเศษ ๑ ๑๕

เล่าเรื่องประเพณีและเทศกาลของไทย เสนาศึกษา เล่ม ๕๖ ตอน ๑ (ส.ค. ก.ย.๒๕๓๒) : หน้าพิเศษ

ศาสนากับการปกครองระบอบประชาธิปไตย เสนาศึกษา เล่ม ๕๖ ตอน ๖ (ส.ค. ๒๕๓๓) : หน้าพิเศษ

สมเด็จแม่กับการศึกษา เสนาศึกษา เล่ม ๕๙ ตอน ๑ ๒ (ส.ค. พ.ย.๒๕๓๕) : หน้าพิเศษ

๑๐ ปี ในรั้วแดงกำแพงเหลือง เสนาศึกษา เล่ม ๕๖ ตอน ๖ (ส.ค.๒๕๓๓) : หน้าพิเศษ

สายธารแห่งอารยธรรมไทย วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช ๕ (มกราคม เมษายน, ๒๕๓๕) :

สายธารแห่งอารยธรรมไทย เสนาศึกษา เล่ม ๕๘ ตอน ๓ (ธ.ค.๒๕๓๔ ม.ค.๒๕๓๕) : หน้าพิเศษ

เอกสารประกอบการสอน

วิชาประวัติศาสตร์ไทย

ภาคสอง ๒๕๓๒

การก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัย,

บทนำ / หลักฐานทางประวัติศาสตร์ / พัฒนาการทางประวัติศาสตร์

ภาคสอง ๒๕๓๓

การปฏิรูปบ้านเมืองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.

ภูมิศาสตร์เบื้องต้นหลังประวัติศาสตร์,

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก : กับการสร้างเมืองใหม่,

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก : การปกครอง

ภาคสอง ๒๕๓๕

การปฏิรูปในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว,

ความนำ : หลักฐานเอกสารในการศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์สมัยรัชกาลที่ ๕,

ปัญหาบางประกาจากการพัฒนาเศรษฐกิจในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา,

ภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์,

วิชาประวัติศาสตร์ไทย : บทนำ,

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และพัฒนาการของแคว้นโบราณในดินแดนประเทศไทย.

อื่น ๆ

กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี (พ.ศ.๑๗๖๒ ๑๙๘๑),

การโยงอำนาจเข้าสู่องค์พระมหากษัตริย์ : จุดเริ่มต้นการปฏิรูปบ้านเมืองของพระบาทสมเด็จ

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว,

การปฏิรูปในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว : การต่างประเทศ,

ชาวจีนในสมัยอยุธยา : สถานะในประวัติศาสตร์,

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการปฏิรูปบ้านเมือง,

วิชาประวัติศาสตร์ไทย : สุโขทัย,

สังคมสมัยประวัติศาสตร์ยุคต้นในดินแดนประเทศไทย สังเขปในการศึกษา

วิชาประวัติศาสตร์โลก

ภาคต้น ๒๕๓๓

ประวัติศาสตร์จีน,

มาเลเซีย, สิงคโปร์,

อินโดจีน,

อินโดนีเซีย

ภาคต้น ๒๕๓๕

จีนกับแนวทางในอนาคต,

ปริทัศน์แดนมังกร (บทสไลด์),

มองโลกร่วมสมัย (บทสไลด์),

เหตุการณ์ปัจจุบันของโลก : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ภาคต้น ๒๕๓๖

กัมพูชา,

จีน,

บรูไน,

ประวัติศาสตร์โลก : สรุป,

พม่า,

ฟิลิปปินส์

วิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ภาคต้น ๒๕๓๑

บทนำ

ภาคต้น ๒๕๓๓

พม่าหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

ภาคต้น ๒๕๓๔

พม่า, อินโดนีเซีย, อินโดนีเซีย ในปัจจุบัน

ภาคต้น ๒๕๓๕

บรูไน, ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ภาคต้น ๒๕๓๑

สถานการณ์บ้านเมือง และเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย

พันเอกหญิง ประไพพิศ วรวัฒนชัย

บทความ

การใช้ประโยชน์จากลำโดมน้อย ใน อีสานใต้ : ๒๙ ๓๐,

โครงการพัฒนาทุ่งกุลาร้องให้ ใน อีสานใต้ : ๓๑ ๓๓,

การปฏิรูปการปกครองท้องถิ่นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว : ศึกษากรณีหัวเมือง

แพร่ และน่าน : ใน สามนคร : ๗๐ ๘๐

การปฏิรูปการปกครองหัวเมืองภาคใต้ : การโยงอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง ใน ทักษิณฝั่งทะเลตะวันออก:

๕๕ ๗๐

ข้อคิดเห็นบางประการ ของ นนร. ในการเดินทางไปทัศนศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี ใน อู่อารยธรรม :

๑๗๐ ๑๗๕

บทบาทของหัวเมืองภาคตะวันออกกับระบบการค้าของไทย ใน บูรพาทิตย์ : ๑๖ ๒๓

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการรับราชการทหาร เสนาศึกษา ล.๖๐ ต. ๑ (ก.ย. พ.ย.๒๕๓๖)

: ๔๑ ๕๖

เวียงกุมกาม และวัดเจดีย์เหลี่ยม ใน ล้านนา : ๙๕ ๙๗

พันเอกหญิง ศรีสุนทร นาคะอภิ*

ตำรา

ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น. นครนายก : กองวิชาประวัติศาสตร์ รร.จปร., ๒๕๓๒.

บทความ

วัดเจดีย์หลวง ใน ล้านนา : ๑๑๒ ๑๑๔

วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร ใน ล้านนา : ๑๐๘ ๑๑๐.

อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ ใน อีสานใต้ : ๒๕ ๒๖.

พันเอกหญิง อักษรศรี หงสกุล

บทความ

ชายแดนตะวันออกกับความคงอยู่แห่งสยามประเทศ ใน บูรพาทิตย์ : ๓๕ ๔๕.

ท้าวเทพกษัตรี ท้าวศรีสุนทร สองวีรสตรีเมืองถลาง ใน หัวเมืองริมฝั่งอันดามัน : ๗๙ ๘๘

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เสนาศึกษา. เล่ม ๖๐ ตอน ๑ (กันยายน พฤศจิกายน ๒๕๓๖) : หน้าพิเศษ

วัดบุปผาราม (วัดสวนดอกไม้พะยอม) ใน ล้านนา : ๑๐๒ ๑๐๓

เอกสารประกอบการสอน

วิชาประวัติศาสตร์ไทย

การปฏิรูปประเทศในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

วิชาประวัติศาสตร์โลก

ภาคต้น ๒๕๓๕

จาก USSR สู่ CIS : ภูมิปลังทางประวัติศาสตร์

พันโทหญิง จิรวัฒน์ อุไรเลิศ**

บทความ

วัดพระธาตุลำปางหลวง ใน ล้านนา : ๘๒ ๘๔

--------------------------------------------

* ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองวิชาอักษรศาสตร์ ส่วนการศึกษา รร.จปร.

** ปัจจุบันย้ายไปรับราชการที่กองยุทธศึกษาทหารบก

พันตรี วิชัญ ภูพานทอง *

บทความ

วัดศรีโคมคำ ใน ล้านนา : ๗๔ ๗๖

ร้อยเอกหญิง ชมนาด เทียมพิภพ (สุขเจริญ)

บทความ

สวนนกชัยนาท ใน ภาคกลางตอนบน : ๗๔ ๗๕

ข้อสังเกตจากบทพระราชนิพนธ์จดหมายเหตุพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จ ฯ เมืองลพบุรี

และอื่น ๆ พ.ศ.๒๔๒๑ ใน อู่อารยธรรม : ๓๕ ๓๘

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและจีนก่อนคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ใน ทักษิณฝั่งทะเลตะวันออก : ๔๓ ๔๖

ตามรอยพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จ ฯ ทรงเปิดรถไฟสายตะวันออก และเสด็จ ฯ ประพาส

แปดริ้ว (พ.ศ.๒๔๕๐) ใน บูรพาทิตย์ : ๔๗ ๕๓

สองข้างทางเสด็จ ฯ เสนาศึกษา. ล.๕๘ ต. ๑ (ส.ค. ก.ย.๒๕๓๔) : ๑๙.

เขียนร่วมกับพันเอกวรานนท์ โกมุท

การศึกษาของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ประเทศอังกฤษ (พ.ศ.๒๔๔๙ ๒๔๕๘)

เสนาศึกษา. (ก.ย. พ.ย.๒๕๓๖) : ๑๓ ๒๘.

เอกสารประกอบการสอน

วิชาประวัติศาสตร์อเมริกา

ภาคสอง ๒๕๓๓

การตั้งถิ่นฐานและการสถาปนาประเทศใหม่,

การปฏิวัติและสงครามประกาศเอกราชอเมริกา : ประชาธิปไตยแบบอเมริกา,

พิชิตตะวันตก : การขยายตัวทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่,

ระเบียบวิธีวิจัยทางประวัติศาสตร์ : วิธีการศึกษาประวัติศาสตร์อเมริกา,

สหรัฐอเมริกาสมัยระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๑ ๒,

สหรัฐอเมริกากับสังคมโลก : จากลัทธิมอนโรถึงสงครามโลกครั้งที่ ๑,

สหรัฐอเมริกาตั้งแต่สมัยสงครามเวียดนามถึงทศวรรษ ๑๙๘๐,

สังคมอเมริกันในช่วงต่อระหว่างศตวรรษที่ ๑๙ ๒๐

-----------------------------------------

* ปัจจุบันเป็นนายทหารพ้นราชการ

ร้อยเอก ธวัชชัย สุขเสียงศรี

บทความ

ศูนย์วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม อุทัยธานี ใน ภาคกลางตอนบน : ๙๐ ๙๒

วัดพระธาตุดอยสุเทพ ใน ล้านนา : ๙๙ ๑๐๑

ร้อยเอกหญิง นงลักษณ์ ลิ้มศิริ

บทความ

วัดจามเทวีหรือวัดกู่กุด ใน ล้านนา : ๙๒ ๙๓

อีสานใต้ ประสบการณ์และทัศนะจากนักเรียน...นายร้อยพระจุลจอมเกล้า (รุ่น ๓๖) ปีการศึกษา ๒๕๓๑ ใน อีสานใต้ : ๗๙ ๘๗

ร้อยเอกหญิง ปิยนุช รัตนวิชัย (คังคะเกตุ)

บทความ

การดำเนินงานยุทธศาสตร์พัฒนา ใน สามนคร : ๓๒ ๔๒,

ตลาดนัดโค - กระบือ : ธุรกิจซื้อขายชีวิต : ใน ภาคกลางตอนบน : ๑๐๐ ๑๐๓,

นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ใน บูรพาทิตย์ : ๗๗ ๗๙,

โรงงานเครื่องปั้นดินเผา เถ้าฮงไถ่ ใน อู่อารยธรรม : ๑๕๔ ๑๕๖,

วัดเจ็ดยอด ใน ล้านนา : ๑๐๕ ๑๐๖,

วัดบุปผาราม ใน บูรพาทิตย์ : ๑๒๕ ๑๒๗,

ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ใน บูรพาทิตย์ : ๑๑๕ ๑๑๗,

สหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี ใน อู่อารยธรรม : ๑๖๗ ๑๖๙.

รวบรวม

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. เสนาศึกษา. ล ๖๐ ต. ๑

(ก.ย. พ.ย.๒๕๓๖) : ๙๗ ๑๐๗.

ร้อยเอก พีรพล สงนุ้ย

บทความ

การศึกษาต่อในโรงเรียนเสนาธิการทหารฝรั่งเศสของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.๒๔๖๔

๒๔๖๗) เสนาศึกษา. ล. ๖๐ ต. ๑ (ก.ย. พ.ย.๒๕๓๖) : ๓๑ ๔๐.

ข้าว ข้าว ข้าว : ใน ภาคกลางตอนบน : ๑๕๔ ๑๖๐.

เขื่อนศรีนครนิทร์ ใน อู่อารยธรรม : ๑๑๔.

บริษัทสยามคราฟท์อุตสหกรรม จำกัด ใน อู่อารยธรรม : ๑๕๒ ๑๕๓.

พื้นที่อพยพที่ ๘ ใน บูรพาทิตย์ : ๑๓๙ ๑๔๑.

อุทยานแห่งชาติไทรโยค ใน อู่อารยธรรม : @@*”

ร้อยโท ศรศักร ชูสวัสดิ์

บทความ

สนามบินตาคลี : เมื่อต่างชาติมาใช้ ใน ภาคกลางตอนบน : ๑๑๖ ๑๒๒.

เหตุการณ์การเมืองไทย ปี ๑๙๔๐ ก่อนญี่ปุ่นบุกไทย : ทัศนะของทูตอังกฤษประจำประเทศไทย ใน เสนา

ศึกษา ล. ๕๙ ตอน ๔ และ ๕ (ก.พ. พ.ค. ๒๕๓๖). ๓๕ ๔๕

แหล่งเรือเสม็ดงาม ใน บูรพาทิตย์ : ๑๐๘ ๑๐๙.

อู่อารยธรรม ใน อู่อารยธรรม : ๒๗ ๓๔.

เอกสารประกอบการสอน

วิชาการเมืองการปกครองของประเทศไทย

ภาคสอง ๒๕๓๖

นิยมของประวัติศาสตร์ (แปล), บทบาทของ นนร. กับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕, ปัญหาในการศึกษาประวัติศาสตร์ (แปล), ปรัชญาประวัติศาสตร์ (แปล)

วิชาประวัติศาสตร์ไทย

ภาคต้น ๒๕๓๕

ลำดับเหตุการณ์สมัยสุโขทัย (รวบรวม)

วิชาประวัติศาสตร์โลก

ภาคสอง ๒๕๓๓

ปัญหาในตะวันออกกลาง

ภาคต้น ๒๕๓๔

เอเชียใต้

ภาคต้น ๒๕๓๕

บังคลาเทศ (แปล)

ศรีลังกา (แปล)

แอฟริกาใต้ (แปล)

วิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ภาคต้น ๒๕๓๔

ภูมิหลังของความสัมพันธ์ระหว่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับยุโรป (แปล)

ภาคต้น ๒๕๓๕

การตั้งมะละกา และการเข้ามาของศาสนาอิสลาม (แปล),

ประวัติศาสตร์โบราณ (แปล)

ภาคต้น ๒๕๓๖

กัมพูชา (แปล)}

มาเลเซีย และสิงคโปร์ (แปล),

อินโดจีน (แปล)}

อินโดนีเซีย และนิวกีนี (แปล),

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (แปล),

เอเชีย และแอฟริกา (แปล)

วิชาพื้นฐานอารยธรรมไทย

ภาคสอง ๒๕๓๕

ชนชั้นปกครองและนายทุนจีนในระบบเศรษฐกิจไทยสมัยกรุงเทพฯ

สภาพเศรษฐกิจไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึงปัจจุบัน

ภาคสอง ๒๕๓๖

ลักษณะสังคมและศิลปวัฒนธรรมไทยสมัยโบราณ พ.ศ. ๒๓๙๔.

สนธิสัญญาบาวริ่ง

รายงาน

รายงานเบื้องต้นการสืบค้นเอกสารทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับประเทศไทย ณ Public Record Office ประเทศอังกฤษ (ภาคต้น, ๒๕๓๕)

ร้อยตรี สรศักดิ์ งามขจรกุลกิจ

บทความ

ฐานะและความสำคัญของดินแดนภาคตะวันออก ใน บูรพาทิตย์ : ๑๕.

แนวพระราชดำริและนโยบายการจัดราชการทหารสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.๒๔๖๘

๒๔๗๕) : ใน เสนาศึกษา ล. ๖๐ ต. ๑ (ก.ย. พ.ย.๒๕๓๖) : ๖๑ ๘๖.

ภาคกลางตอนบน จากเมืองชายขอบของรัฐทวารวดีสู่เมืองด่านและพัฒนาขึ้นเป็นศูนย์กลางการปกครอง

การค้า การทองเที่ยวของรัฐไทย ใน ภาคกลางตอนบน : ๑๐.

เอกสารประกอบการสอน

วิชาการเมืองการปกครองของประเทศไทย

ภาคสอง ๒๕๓๖

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ เข้าสู่ระบบรัฐธรรมนูญ (ประชาธิปไตย),

การเมืองการปกครองไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง,

การเลือกตั้งในประเทศไทย,

แนวคิดและทฤษฎีการศึกษาการเมืองการปกครองไทย,

ระบอบประชาธิปไตย,

ระเบียบวิธีการวิจัย การสัมภาษณ์กับการวิจัยทางการเมืองการปกครองไทย,

วิเคราะห์รัฐธรรมนูญของไทย,

สถาบันทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย

วิชาประวัติศาสตร์ไทย

ภาคสอง ๒๕๓๕

ขบวนการเสรีไทยกับการต่อต้านญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง (พ.ศ.๒๔๘๔ ๒๔๘๘),

ประวัติศาสตร์ไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง,

ผลกระทบทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของการปฏิวัติ พ.ศ.๒๕๐๐ ๒๕๐๑,

ลำดับเหตุการณ์สำคัญของประเทศไทยระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ และสงครามหาเอเชียบูรพา

(พ.ศ.๒๔๘๒ ๒๔๘๙) (รวบรวม)

วิชาประวัติศาสตร์โลก

ภาคต้น ๒๕๓๕

การล่มสลายของสหภาพโซเวียตกับการเปลี่ยนแปลงดุลอำนาจทางการเมืองโลก

วิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ภาคต้น ๒๕๓๕

ฟิลิปปินส์สมัยนางคอราซอน อะคีโน



วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ประวัติและภารกิจของกองวิชาประวัติศาสตร์

กลับหน้าแรก Blog



ประวัติและภารกิจของกองวิชาประวัติศาสตร์

การดำเนินการจัดตั้งกองวิชาประวัติศาสตร์ (กปศ.) ใน รร.จปร. มีขึ้นในระหว่าง พ.ศ.๒๕๒๔ ๒๕๓๐ โดยพิจารณากันว่า ขณะนั้นวิชาประวัติศาสตร์ ใน รร.จปร. มีการสอนอยู่หลายสาขา และแยกกันสอน เช่นวิชาประวัติศาสตร์ไทย และวิชาประวัติศาสตร์ยุโรป เป็นวิชาอยู่สาขาหนึ่งของกองวิชากฎหมายและสังคมศาสตร์ ส่วนวิชาประวัติศาสตร์สงครามสอนอยู่ในกองวิชาวิศวกรรมสรรพาวุธ หากวิชาเหล่านี้มารวมไว้ในกองวิชาเดียวกัน ก็จะเกิดความต่อเนื่องของเนื้อหาวิชาและวิธีการสอน

ในปี พ.ศ.๒๕๓๐ ตามอัตราเฉพาะกิจของกองทัพบกที่ ๔๔๐๐ ลงวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๓๐ ประกาศเป็นคำสั่งให้ส่วนการศึกษา รร.จปร. จัดตั้งกองวิชาประวัติศาสตร์ขึ้น ให้ทำหน้าที่และรับผิดชอบในการจัดการศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ตามหลักสูตร รร.จปร. ปี พ.ศ.๒๕๓๐ โดยมี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระยศ พันเอก ทรงเป็นองค์หัวหน้ากอง (ต่อมา พ.ศ.๒๕๓๒ กองทัพบกได้ขยายอัตราและเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหัวหน้ากองทั้งหมดเป็นผู้อำนวยการกอง) และมี พันเอกหญิง ศรีสุนทร นาคะอภิ เป็นรองหัวหน้ากอง (ปัจจุบัน พันเอกหญิง ประไพพิศ วรวัฒนชัย เป็น รอง ผอ.กปศ.ฯ (ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๔) ในระยะแรกมีการโอนย้ายอาจารย์ และเจ้าหน้าที่จากกองวิชากฎหมาย มาสังกัดกองวิชาประวัติศาสตร์ ต่อมาจึงมีการโอนย้ายและรับอาจารย์ เจ้าหน้าที่เพิ่ม

ระยะแรก กปศ. ได้ใช้อาคารร่วมกับกองวิชากฎหมายและสังคมศาสตร์และในการจัดการเรียนการสอน ต่อมากองทัพได้อนุมัติแผนการก่อสร้างอาคารที่ประทับและทรงงาน กองวิชาประวัติศาสตร์ของ พลตรีหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และในวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๓๒ พลตรีหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ ทรงวางศิลาฤกษ์อาคาร กปศ. การก่อสร้าง การติดตั้งโสตทัศนูปกรณ์ ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกประจำอาคารได้ใช้เวลา ๒ ปีเศษ (พ.ศ.๒๕๓๔ ๒๕๓๖) จึงแล้วเสร็จ งบประมาณค่าใช้จ่าย ๑๑๓ ล้านบาทเศษ เมื่อการก่อสร้างและการตกแต่งแล้วเสร็จ จึงได้ย้ายจากที่เดิมมายังอาคารหลังใหม่

ภารกิจ

๑. การจัดการเรียนการสอน

๑.๑ วิชาที่เปิดสอน

๑.๑.๑ ปีการศึกษา ๒๕๓๐ ภาคต้น ๒๕๓๖ กปศ.ฯ ดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร รร.จปร. พ.ศ.๒๕๓๐

ตามหลักสูตร รร.จปร. พ.ศ.๒๕๓๐ การจัดการศึกษาของกองวิชาประวัติศาสตร์ มุ่งหมายเพื่อสร้างพื้นฐานความรู้ความเข้าใจแก่ นนร. ในส่วนที่เกี่ยวกับอารยธรรมไทยสำหรับ นนร.ชั้นต้นๆ และให้ นนร. ที่จะจบการศึกษาออกไปมีความรอบรู้เรื่องราวและก้าวทันความเป็นไปของเหตุการณ์โลกปัจจุบัน ดังนั้นจึงกำหนดให้วิชาพื้นฐานอารยธรรมไทยเป็นวิชาบังคับสำหรับ นนร. ชั้นปีที่ ๒ และวิชาประวัติศาสตร์โลกเป็นวิชาบังคับสำหรับ นนร. ชั้นปีที่ ๕ ส่วน นนร. ชั้นปีที่ ๓ และ ๔ ที่มีความสนใจวิชาประวัติศาสตร์เป็นพิเศษ กปศ.ฯ ได้เปิดวิชาเลือกประวัติศาสตร์ให้ นนร. ได้มีโอกาสได้เลือกเรียน อย่างไรก็ตามการเปิดวิชาเลือกประวัติศาสตร์ให้ นนร. ได้เลือกเรียน ก็มีข้อจำกัดอยู่บ้างในเรื่องอาจารย์ผู้สอน และ จำนวน นนร. ที่เลือกเรียน ที่ผ่านมา กปศ.ฯ เปิดสอนวิชาเลือกต่อไปนี้

สำหรับ นนร. ชั้นปีที่ ๓

๑. ประวัติศาสตร์ไทย

๒. ประวัติศาสตร์อเมริกา

๓. ประวัติศาสตร์ยุโรป

สำหรับ นนร. ชั้นปีที่ ๔

๑. ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

๒. ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออก

อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการจัดตั้งกองวิชาประวัติศาสตร์ขึ้นแล้วก็ยังไม่ได้เอาวิชาประวัติศาสตร์สงคราม เข้ามารวมไว้ด้วย เนื่องจาก กปศ. มีปัญหาขาดแคลนอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญที่จะสอนวิชาดังกล่าวโดยตรง การให้กองวิชาสรรพาวุธรับผิดชอบต่อไปน่าจะเกิดผลดีกว่า

๑.๑.๒ ภาคสอง ปีการศึกษา ๒๕๓๖ กปศ.ฯ ดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร รร.จปร. พ.ศ.๒๕๓๔ (หลักสูตรปัจจุบัน) ซึ่งตามหลักสูตรนี้ กปศ. เปิดสอนวิชาต่างๆ ดังนี้

๑. วิชาพื้นฐานอารยธรรมไทย (บังคับ) ชั้นปีที่ ๒

๒. วิชาการเมืองการปกครองของประเทศไทย (บังคับ) นนร. ชั้นปีที่ ๓

ส่วนวิชาประวัติศาสตร์ร่วมสมัย (ประวัติศาสตร์โลกเดิม) ยังคงเป็นวิชาบังคับของ นนร. ชั้นปีที่ ๕ และนำวิชาเลือกอื่นๆ มาเปิดสอนในชั้นนี้

ตารางสรุปการเปิดสอนวิชาต่างๆ

วิชาที่เปิดสอน

ชั้นปีที่เรียน

ภาค/ปีที่เปิดสอน

หมายเหตุ

ก.วิชาบังคับ




พื้นฐานอารยธรรมไทย

๒/๒๕๓๑ ๒๕๓๖


ปวศ. โลก

๑/๒๕๓๒ ๒๕๒๖


ข.วิชาเลือกเสรี




ปวศ. ไทย

๒/๒๕๓๑ ๒๕๓๕

ไม่รวมปีที่มีการ

ปวศ. ยุโรป

๒/๒๕๓๔

เปิดสอนก่อนการ

ปวศ.ญี่ปุ่น

๒/๒๕๓๓

ตั้ง กปศ.ฯ

ปวศ.อเมริกา

๒/๒๕๓๑ ๒๕๓๕


ปวศ.เอเชียตะวันออก

๑/๒๕๓๑ ๒๕๓๖


ปวศ.เอเชียตะวันออก

๑/๒๕๓๑ ๒๕๓๖


เฉียงใต้(เอชีย




อาคเนย์)




๑.๒ การเรียนการสอนในห้องเรียน การเรียนการสอนในห้องเรียนโดยทั่วไป ใช้วิธีการบรรยาย เช่นเดียวกับสถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ และได้มีการนำเอาสื่อการสอนหลายประเภทมาใช้ร่วมด้วย เช่น เครื่องฉายแผ่นใส เครื่องฉายแผ่นทึบแสง โทรทัศน์ วีดิทัศน์ เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายสไลด์มัลติวิชั่น อุปกรณ์ต่างๆ ส่วนใหญ่ได้รับพระราชทานจากองค์ ผอ.กปศ.ฯ นอกจากนี้ มีการเชิญวิทยากรพิเศษ ซึ่งมีความรอบรู้เฉพาะด้านมาบรรยาย หรือจัดแสดงให้ นนร. ได้ชม เช่น การจัดแสดงของคณะนาฏศิลป์ กรมศิลปากร

๑.๓ การทัศนศึกษา กิจกรรมอย่างหนึ่งที่ องค์ ผอ.กปศ.ฯ ทรงส่งเสริมให้ นนร. ได้มีโอกาสได้รู้ได้เห็นสิ่งต่างๆ โดยตรงก็คือการทัศนศึกษา องค์ ผอ.กปศ.ฯ ได้ทรงมีนโยบายว่า สถานที่ที่ นนร. ควรไปทัศนศึกษาแต่ละครั้งนั้นให้ครอบคลุม ๑) สภาพภูมิศาสตร์ สภาพแวดล้อม และการอนุรักษ์ธรรมชาติ ๒) ความเป็นอยู่ของราษฎร การทำมาหากิน และการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ ๓) ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปวัฒนธรรมของชุมชนต่างๆ ๔) ความก้าวหน้าด้านวิทยาการ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ๕) การทหารการป้องกันประเทศ ยุทธศาสตร์การพัฒนา และชายพระราชอาณาเขต และการทัศนศึกษาแต่ละครั้ง องค์ ผอ.กปศ.ฯ จะเสด็จฯ ทรงนำ นนร. ไปทัศนศึกษาเกือบทุกครั้ง ช่วงปี ๒๕๓๐ ๒๕๓๖ มีการทัศนศึกษาของ กปศ.ฯ รวม ๒๓ ครั้ง (โปรดดูรายการเสด็จฯ ทรงนำคณะอาจารย์ และ นนร. ทัศนศึกษา พ.ศ.๒๕๓๐ ๒๕๓๖ ) ภายหลังการทัศนศึกษาแต่ละครั้ง นนร. ต้องทำรายงานส่ง วิชาใดที่ องค์ ผอ.กปศ.ฯ ทรงสอนจะทรงตรวจรายงานด้วยพระองค์เอง

การทัศนศึกษา นอกจากช่วยให้ นนร. ได้มีโอกาสรับรู้ความรู้จากวิทยากรจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่างๆ แล้ว ผลได้ที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือการจัดทำคู่มือทัศนศึกษา ในการทัศนศึกษาครั้งสำคัญแต่ละครั้ง องค์ ผอ.กปศ.ฯ โปรดเกล้าฯ ให้จัดทำหนังสือคู่มือทัศนศึกษา ซึ่งเป็นการรวบรวมบทความเกี่ยวกับสถานที่ที่จะทัศนศึกษา จึงเป็นประโยชน์ทั้งแก่ นนร. และแก่ท้องถิ่นนั้นๆ ด้วย ปัจจุบันมีคู่มือรวม ๙ เล่ม (โปรดดูรายชื่อหนังสือ บทความ เอกสารประกอบการสอนของ กปศ.ฯ พ.ศ. ๒๕๓๐ ๒๕๓๖ )

๑.๔ เอกสารประกอบการสอน นอกจากการบรรยายตามปกติแล้ว อาจารย์ผู้สอน ได้จัดทำเอกสารประกอบการสอนแจกให้ นนร. เพื่อใช้อ่านประกอบอยู่เสมอ (โปรดดูรายละเอียดในรายชื่อหนังสือ บทความ และเอกสารประกอบการสอนของ กปศ.ฯ)

๑.๕ ห้องสมุด เพื่อรองรับและส่งเสริมการเรียนการสอนและการค้นคว้าวิจัย กปศ.ฯ ได้จัดให้มีห้องสมุดประวัติศาสตร์ขึ้น หนังสือส่วนใหญ่ได้รับพระราชทานจาก องค์ ผอ.กปศ.ฯ ขณะนี้มีหนังสือจำนวน ๑,๗๐๐ เล่ม มีการจัดหมวดหมู่หนังสือตามระบบรัฐสภาอเมริกัน

๒. การวิจัยและการส่งเสริมการวิจัย กปศ.ฯ ได้ดำเนินการวิจัย ๒ เรื่อง ได้แก่

๒.๑ การวิจัย

๒.๑.๑ นครนายกกับสงครามโลกกครั้งที่ ๒ เป็นการค้นคว้าวิจัยเบื้องต้นเพื่อเสนอเป็นบทความในการสัมมนาวิชาการเรื่อง ภาษากับประวัติศาสตร์และการเคลื่อนไหวในวิชาประวัติศาสตร์ไทย เมื่อ ๑๖ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๓ (โปรดดู ๓.๑)

๒.๑.๒ ประวัติศาสตร์เมืองนครนายก เป็นโครงการที่สืบเนื่องมาจากการค้นคว้าใน ๒.๑.๑ โครงการนี้มี องค์ ผอ.กปศ.ฯ เป็นปรานโครงการวิจัย และมีอาจารย์กองวิชาประวัติศาสตร์ กองวิชากฎหมายและสังคมศาสตร์ ส่วนการศึกษาและกองวิชาประวัติศาสตร์สงคราม ส่วนวิชาทหาร ร่วมกันวิจัย ใช้งบประมาณกองทัพบกเป็นเงิน ๔๗๖,๘๐๔ บาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินงาน

๒.๑.๓ การจัดการศึกษาของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ากับสยามใหม่ เป็นการค้นคว้าวิจัยเบื้องต้นเพื่อเสนอเป็นบทความในการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง หนึ่งศตวรรษสยามใหม่กับเส้นทางสู่อนาคต เมื่อ ๑๔ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๓ (โปรดดู ๓.๒)

๒.๒ การส่งเสริมการวิจัย : โครงการแหล่งเอกสารเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยในต่างประเทศตามพระราชดำริ

เนื่องจาก องค์ ผอ.กปศ.ฯ ทรงมีพระราโชบายที่จะส่งเสริมให้การวิจัยประวัติศาสตร์ไทยเป็นไปอย่างกว้างขวางมากขึ้น และทรงตระหนักถึงความสำคัญ ของหลักฐานประวัติศาสตร์ในต่างประเทศที่เกี่ยวกับไทย ดังนั้นต้นปี พ.ศ.๒๕๓๕ องค์ ผอ.กปศ.ฯ โปรดเกล้าพระราชทานทรัพย์ให้อาจารย์ในกองเดินทางไปค้นคว้าวิจัยเรื่อง ประวัติศาสตร์เมืองนครนายก ที่หอจดหมายเหตุสาธารณะ (The Public Record Office) กรุงลอนดอน อังกฤษ พร้อมทั้งให้สำรวจและศึกษาเอกสารเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย เพื่อถ่ายสำเนาเอกสารมาให้บริการแก่ผู้สนใจ ได้มีถ่ายสำเนาเอกสารมาให้บริการที่ห้องสมุด กปศ.ฯ โครงการดังกล่าวนี้ได้ดำเนินการซ้ำอีกในต้นปี พ.ศ.๒๕๓๖

ปัจจุบัน สำเนาเอกสารทั้งหมด ได้มีการจัดทำบัญชี จัดเข้าฟ้า จัดทำบัตรรายการ ไว้ให้บริการแก่ผู้สนใจค้นคว้า ที่ห้องสมุด กปศ.ฯ แล้ว สำเนาเอกสารมีจำนวนรวม ๓๔ ฟ้า ๔๙ รายการ ๑,๙๐๕ แผ่น

๓. การจัดสัมมนาทางวิชาการ เพื่อเป็นการส่งเสริมการเผยแพร่ความรู้วิชาประวัติศาสตร์ กปศ.ฯ จึงรวมเป็นเจ้าภาพจัดสัมมนากับสมาคมประวัติศาสตร์แห่งประเทศไทยในนาม รร.จปร. ๒ ครั้ง ด้วยกันคือ

๓.๑ เรื่อง ภาษากับประวัติศาสตร์ และความเคลื่อนไหวในวิชาประวัติศาสตร์ไทย จัดขึ้นที่ รร.จปร. ๑๔ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๓ กปศ.ฯ โดย องค์ ผอ.กปศ.ฯ ทรงนำเสนอบทความเรื่อง นครนายกกับสงครามโลกครั้งที่ ๒

๓.๒ เรื่อง หนึ่งศตวรรษสยามใหม่กับเส้นทางสู่อนคต จัดขึ้นที่ รร.จปร. ๑๔ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕ กปศ.ฯ โดย องค์ ผอ.กปศ.ฯ ทรงนำเสนอบทความเรื่อง การจัดการศึกษาของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ากับสยามใหม่ในช่วง พ.ศ.๒๔๓๐ ๒๔๗๕

๔. การจัดนิทรรศการ ระหว่าง ๕ พฤจิกายน ๔ ธันวาคม ๒๕๓๖ กปศ.ฯ ในนามส่วนการศึกษาและหอสมุด รร.จปร. ได้ร่วมกันจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ เรื่อง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการทหาร เนื่องในวโรกาสครบ ๑๐๐ ปี แห่งวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้ได้จัดแสดงภาพและเครื่องใช้ส่วนพระองค์ สมุด หนังสือ ฯลฯ ณ หอสมุด รร.จปร. ระหว่างวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๔ ธันวาคม ๒๕๓๖ โดยเปิดโอกาสให้สาธารณชน หน่วยงานต่างๆ เข้าชม

๕. บทความ่างวิชาการ ภารกิจของอาจารย์ กปศ.ฯ นอกเหนือจากการจัดการเรียนการสอน การวิจัยแล้ว งานเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการต่างๆ ก็เป็นอีกภารกิจหนึ่ง ทาง กปศ.ฯ ได้ดำเนินอยู่บ้างแล้ว (โปรดดูรายการหนังสือ บทความและเอกสารประกอบการสอนของ กปศ.ฯ พ.ศ. ๒๕๓๐ ๒๕๓๖)

๖. แผนงานในอนาคต

๖.๑ การจัดทำแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับจังหวัดนครนายก เพื่อประโยชน์ในการค้นคว้าวิจัยประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดนครนายก ทาง องค์ ผอ.กปศ.ฯ จึงทรงมีพระราชดำริให้ กปศ.ฯ เตรียมจัดทำโครงการฐานข้อมูลเกี่ยวกับจังหวัดนครนายก เพื่อให้บริการแก่นักวิจัยและผู้สนใจ ณ ห้องสมุด กปศ.ฯ

๖.๒ โครงการวิจัยเรื่อง การจัดการศึกษา ใน รร.จปร. เป็นโครงการที่สืบเนื่องจากการค้นคว้าศึกษาเรื่องการจัดการศึกษาของ รร.จปร. กับสยามใหม่ซึ่ง องค์ ผอ.กปศ.ฯ ทรงนำเสนอในการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง หนึ่งศตวรรษสยามใหม่กับเส้นทางสู่อนาคตซึ่งจัดขึ้นที่ รร.จปร. ระหว่าง ๑๔ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕ ขนะนี้อยู่ในระหว่างเตรียมการเสนอโครงการ

๖.๓ โครงการแหล่งเอกสารเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยจากต่างประเทศ เป็นโครงการตามพระราชดำริที่มีพระราชประสงค์จะส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยประวัติศาสตร์ไทยให้ขยายกว้างขวางออกไป ทรงเริ่มโครงการในปี ๒๕๓๕ โดยพระราชทานพระราชทรัพย์ให้อาจารย์ กปศ.ฯ ไปศึกษาการจัดระบบและให้บริการเอกสารประวัติศาสตร์ในประเทศอังกฤษและถ่ายสำเนาเอกสารเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ที่สำคัญกลับมาให้บริการแก่นักวิจัยและผู้สนใจ ขณะนี้ กปศ.ฯ ได้จัดทำโครงการระยะ ๕ ปี (๒๕๓๗ ๒๕๔๑) และได้รับการอนุมัติจากกองทัพบกแล้ว

หมายเหตุหมายเหตุ บทความคัดลอกจากหนังสือ ประวัติศาสตร์ : สายธารสู่อนาคต จัดพิมพ์เนื่องในวโรกาส พลโทหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคาร กองวิชาประวัติศาสตร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า นครนายก ๒๖ ธันวาคม ๒๕๓๖

………………….

กลับหน้าแรก Blog