วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ประวัติและภารกิจของกองวิชาประวัติศาสตร์

กลับหน้าแรก Blog



ประวัติและภารกิจของกองวิชาประวัติศาสตร์

การดำเนินการจัดตั้งกองวิชาประวัติศาสตร์ (กปศ.) ใน รร.จปร. มีขึ้นในระหว่าง พ.ศ.๒๕๒๔ ๒๕๓๐ โดยพิจารณากันว่า ขณะนั้นวิชาประวัติศาสตร์ ใน รร.จปร. มีการสอนอยู่หลายสาขา และแยกกันสอน เช่นวิชาประวัติศาสตร์ไทย และวิชาประวัติศาสตร์ยุโรป เป็นวิชาอยู่สาขาหนึ่งของกองวิชากฎหมายและสังคมศาสตร์ ส่วนวิชาประวัติศาสตร์สงครามสอนอยู่ในกองวิชาวิศวกรรมสรรพาวุธ หากวิชาเหล่านี้มารวมไว้ในกองวิชาเดียวกัน ก็จะเกิดความต่อเนื่องของเนื้อหาวิชาและวิธีการสอน

ในปี พ.ศ.๒๕๓๐ ตามอัตราเฉพาะกิจของกองทัพบกที่ ๔๔๐๐ ลงวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๓๐ ประกาศเป็นคำสั่งให้ส่วนการศึกษา รร.จปร. จัดตั้งกองวิชาประวัติศาสตร์ขึ้น ให้ทำหน้าที่และรับผิดชอบในการจัดการศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ตามหลักสูตร รร.จปร. ปี พ.ศ.๒๕๓๐ โดยมี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระยศ พันเอก ทรงเป็นองค์หัวหน้ากอง (ต่อมา พ.ศ.๒๕๓๒ กองทัพบกได้ขยายอัตราและเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหัวหน้ากองทั้งหมดเป็นผู้อำนวยการกอง) และมี พันเอกหญิง ศรีสุนทร นาคะอภิ เป็นรองหัวหน้ากอง (ปัจจุบัน พันเอกหญิง ประไพพิศ วรวัฒนชัย เป็น รอง ผอ.กปศ.ฯ (ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๔) ในระยะแรกมีการโอนย้ายอาจารย์ และเจ้าหน้าที่จากกองวิชากฎหมาย มาสังกัดกองวิชาประวัติศาสตร์ ต่อมาจึงมีการโอนย้ายและรับอาจารย์ เจ้าหน้าที่เพิ่ม

ระยะแรก กปศ. ได้ใช้อาคารร่วมกับกองวิชากฎหมายและสังคมศาสตร์และในการจัดการเรียนการสอน ต่อมากองทัพได้อนุมัติแผนการก่อสร้างอาคารที่ประทับและทรงงาน กองวิชาประวัติศาสตร์ของ พลตรีหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และในวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๓๒ พลตรีหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ ทรงวางศิลาฤกษ์อาคาร กปศ. การก่อสร้าง การติดตั้งโสตทัศนูปกรณ์ ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกประจำอาคารได้ใช้เวลา ๒ ปีเศษ (พ.ศ.๒๕๓๔ ๒๕๓๖) จึงแล้วเสร็จ งบประมาณค่าใช้จ่าย ๑๑๓ ล้านบาทเศษ เมื่อการก่อสร้างและการตกแต่งแล้วเสร็จ จึงได้ย้ายจากที่เดิมมายังอาคารหลังใหม่

ภารกิจ

๑. การจัดการเรียนการสอน

๑.๑ วิชาที่เปิดสอน

๑.๑.๑ ปีการศึกษา ๒๕๓๐ ภาคต้น ๒๕๓๖ กปศ.ฯ ดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร รร.จปร. พ.ศ.๒๕๓๐

ตามหลักสูตร รร.จปร. พ.ศ.๒๕๓๐ การจัดการศึกษาของกองวิชาประวัติศาสตร์ มุ่งหมายเพื่อสร้างพื้นฐานความรู้ความเข้าใจแก่ นนร. ในส่วนที่เกี่ยวกับอารยธรรมไทยสำหรับ นนร.ชั้นต้นๆ และให้ นนร. ที่จะจบการศึกษาออกไปมีความรอบรู้เรื่องราวและก้าวทันความเป็นไปของเหตุการณ์โลกปัจจุบัน ดังนั้นจึงกำหนดให้วิชาพื้นฐานอารยธรรมไทยเป็นวิชาบังคับสำหรับ นนร. ชั้นปีที่ ๒ และวิชาประวัติศาสตร์โลกเป็นวิชาบังคับสำหรับ นนร. ชั้นปีที่ ๕ ส่วน นนร. ชั้นปีที่ ๓ และ ๔ ที่มีความสนใจวิชาประวัติศาสตร์เป็นพิเศษ กปศ.ฯ ได้เปิดวิชาเลือกประวัติศาสตร์ให้ นนร. ได้มีโอกาสได้เลือกเรียน อย่างไรก็ตามการเปิดวิชาเลือกประวัติศาสตร์ให้ นนร. ได้เลือกเรียน ก็มีข้อจำกัดอยู่บ้างในเรื่องอาจารย์ผู้สอน และ จำนวน นนร. ที่เลือกเรียน ที่ผ่านมา กปศ.ฯ เปิดสอนวิชาเลือกต่อไปนี้

สำหรับ นนร. ชั้นปีที่ ๓

๑. ประวัติศาสตร์ไทย

๒. ประวัติศาสตร์อเมริกา

๓. ประวัติศาสตร์ยุโรป

สำหรับ นนร. ชั้นปีที่ ๔

๑. ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

๒. ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออก

อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการจัดตั้งกองวิชาประวัติศาสตร์ขึ้นแล้วก็ยังไม่ได้เอาวิชาประวัติศาสตร์สงคราม เข้ามารวมไว้ด้วย เนื่องจาก กปศ. มีปัญหาขาดแคลนอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญที่จะสอนวิชาดังกล่าวโดยตรง การให้กองวิชาสรรพาวุธรับผิดชอบต่อไปน่าจะเกิดผลดีกว่า

๑.๑.๒ ภาคสอง ปีการศึกษา ๒๕๓๖ กปศ.ฯ ดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร รร.จปร. พ.ศ.๒๕๓๔ (หลักสูตรปัจจุบัน) ซึ่งตามหลักสูตรนี้ กปศ. เปิดสอนวิชาต่างๆ ดังนี้

๑. วิชาพื้นฐานอารยธรรมไทย (บังคับ) ชั้นปีที่ ๒

๒. วิชาการเมืองการปกครองของประเทศไทย (บังคับ) นนร. ชั้นปีที่ ๓

ส่วนวิชาประวัติศาสตร์ร่วมสมัย (ประวัติศาสตร์โลกเดิม) ยังคงเป็นวิชาบังคับของ นนร. ชั้นปีที่ ๕ และนำวิชาเลือกอื่นๆ มาเปิดสอนในชั้นนี้

ตารางสรุปการเปิดสอนวิชาต่างๆ

วิชาที่เปิดสอน

ชั้นปีที่เรียน

ภาค/ปีที่เปิดสอน

หมายเหตุ

ก.วิชาบังคับ




พื้นฐานอารยธรรมไทย

๒/๒๕๓๑ ๒๕๓๖


ปวศ. โลก

๑/๒๕๓๒ ๒๕๒๖


ข.วิชาเลือกเสรี




ปวศ. ไทย

๒/๒๕๓๑ ๒๕๓๕

ไม่รวมปีที่มีการ

ปวศ. ยุโรป

๒/๒๕๓๔

เปิดสอนก่อนการ

ปวศ.ญี่ปุ่น

๒/๒๕๓๓

ตั้ง กปศ.ฯ

ปวศ.อเมริกา

๒/๒๕๓๑ ๒๕๓๕


ปวศ.เอเชียตะวันออก

๑/๒๕๓๑ ๒๕๓๖


ปวศ.เอเชียตะวันออก

๑/๒๕๓๑ ๒๕๓๖


เฉียงใต้(เอชีย




อาคเนย์)




๑.๒ การเรียนการสอนในห้องเรียน การเรียนการสอนในห้องเรียนโดยทั่วไป ใช้วิธีการบรรยาย เช่นเดียวกับสถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ และได้มีการนำเอาสื่อการสอนหลายประเภทมาใช้ร่วมด้วย เช่น เครื่องฉายแผ่นใส เครื่องฉายแผ่นทึบแสง โทรทัศน์ วีดิทัศน์ เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายสไลด์มัลติวิชั่น อุปกรณ์ต่างๆ ส่วนใหญ่ได้รับพระราชทานจากองค์ ผอ.กปศ.ฯ นอกจากนี้ มีการเชิญวิทยากรพิเศษ ซึ่งมีความรอบรู้เฉพาะด้านมาบรรยาย หรือจัดแสดงให้ นนร. ได้ชม เช่น การจัดแสดงของคณะนาฏศิลป์ กรมศิลปากร

๑.๓ การทัศนศึกษา กิจกรรมอย่างหนึ่งที่ องค์ ผอ.กปศ.ฯ ทรงส่งเสริมให้ นนร. ได้มีโอกาสได้รู้ได้เห็นสิ่งต่างๆ โดยตรงก็คือการทัศนศึกษา องค์ ผอ.กปศ.ฯ ได้ทรงมีนโยบายว่า สถานที่ที่ นนร. ควรไปทัศนศึกษาแต่ละครั้งนั้นให้ครอบคลุม ๑) สภาพภูมิศาสตร์ สภาพแวดล้อม และการอนุรักษ์ธรรมชาติ ๒) ความเป็นอยู่ของราษฎร การทำมาหากิน และการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ ๓) ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปวัฒนธรรมของชุมชนต่างๆ ๔) ความก้าวหน้าด้านวิทยาการ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ๕) การทหารการป้องกันประเทศ ยุทธศาสตร์การพัฒนา และชายพระราชอาณาเขต และการทัศนศึกษาแต่ละครั้ง องค์ ผอ.กปศ.ฯ จะเสด็จฯ ทรงนำ นนร. ไปทัศนศึกษาเกือบทุกครั้ง ช่วงปี ๒๕๓๐ ๒๕๓๖ มีการทัศนศึกษาของ กปศ.ฯ รวม ๒๓ ครั้ง (โปรดดูรายการเสด็จฯ ทรงนำคณะอาจารย์ และ นนร. ทัศนศึกษา พ.ศ.๒๕๓๐ ๒๕๓๖ ) ภายหลังการทัศนศึกษาแต่ละครั้ง นนร. ต้องทำรายงานส่ง วิชาใดที่ องค์ ผอ.กปศ.ฯ ทรงสอนจะทรงตรวจรายงานด้วยพระองค์เอง

การทัศนศึกษา นอกจากช่วยให้ นนร. ได้มีโอกาสรับรู้ความรู้จากวิทยากรจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่างๆ แล้ว ผลได้ที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือการจัดทำคู่มือทัศนศึกษา ในการทัศนศึกษาครั้งสำคัญแต่ละครั้ง องค์ ผอ.กปศ.ฯ โปรดเกล้าฯ ให้จัดทำหนังสือคู่มือทัศนศึกษา ซึ่งเป็นการรวบรวมบทความเกี่ยวกับสถานที่ที่จะทัศนศึกษา จึงเป็นประโยชน์ทั้งแก่ นนร. และแก่ท้องถิ่นนั้นๆ ด้วย ปัจจุบันมีคู่มือรวม ๙ เล่ม (โปรดดูรายชื่อหนังสือ บทความ เอกสารประกอบการสอนของ กปศ.ฯ พ.ศ. ๒๕๓๐ ๒๕๓๖ )

๑.๔ เอกสารประกอบการสอน นอกจากการบรรยายตามปกติแล้ว อาจารย์ผู้สอน ได้จัดทำเอกสารประกอบการสอนแจกให้ นนร. เพื่อใช้อ่านประกอบอยู่เสมอ (โปรดดูรายละเอียดในรายชื่อหนังสือ บทความ และเอกสารประกอบการสอนของ กปศ.ฯ)

๑.๕ ห้องสมุด เพื่อรองรับและส่งเสริมการเรียนการสอนและการค้นคว้าวิจัย กปศ.ฯ ได้จัดให้มีห้องสมุดประวัติศาสตร์ขึ้น หนังสือส่วนใหญ่ได้รับพระราชทานจาก องค์ ผอ.กปศ.ฯ ขณะนี้มีหนังสือจำนวน ๑,๗๐๐ เล่ม มีการจัดหมวดหมู่หนังสือตามระบบรัฐสภาอเมริกัน

๒. การวิจัยและการส่งเสริมการวิจัย กปศ.ฯ ได้ดำเนินการวิจัย ๒ เรื่อง ได้แก่

๒.๑ การวิจัย

๒.๑.๑ นครนายกกับสงครามโลกกครั้งที่ ๒ เป็นการค้นคว้าวิจัยเบื้องต้นเพื่อเสนอเป็นบทความในการสัมมนาวิชาการเรื่อง ภาษากับประวัติศาสตร์และการเคลื่อนไหวในวิชาประวัติศาสตร์ไทย เมื่อ ๑๖ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๓ (โปรดดู ๓.๑)

๒.๑.๒ ประวัติศาสตร์เมืองนครนายก เป็นโครงการที่สืบเนื่องมาจากการค้นคว้าใน ๒.๑.๑ โครงการนี้มี องค์ ผอ.กปศ.ฯ เป็นปรานโครงการวิจัย และมีอาจารย์กองวิชาประวัติศาสตร์ กองวิชากฎหมายและสังคมศาสตร์ ส่วนการศึกษาและกองวิชาประวัติศาสตร์สงคราม ส่วนวิชาทหาร ร่วมกันวิจัย ใช้งบประมาณกองทัพบกเป็นเงิน ๔๗๖,๘๐๔ บาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินงาน

๒.๑.๓ การจัดการศึกษาของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ากับสยามใหม่ เป็นการค้นคว้าวิจัยเบื้องต้นเพื่อเสนอเป็นบทความในการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง หนึ่งศตวรรษสยามใหม่กับเส้นทางสู่อนาคต เมื่อ ๑๔ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๓ (โปรดดู ๓.๒)

๒.๒ การส่งเสริมการวิจัย : โครงการแหล่งเอกสารเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยในต่างประเทศตามพระราชดำริ

เนื่องจาก องค์ ผอ.กปศ.ฯ ทรงมีพระราโชบายที่จะส่งเสริมให้การวิจัยประวัติศาสตร์ไทยเป็นไปอย่างกว้างขวางมากขึ้น และทรงตระหนักถึงความสำคัญ ของหลักฐานประวัติศาสตร์ในต่างประเทศที่เกี่ยวกับไทย ดังนั้นต้นปี พ.ศ.๒๕๓๕ องค์ ผอ.กปศ.ฯ โปรดเกล้าพระราชทานทรัพย์ให้อาจารย์ในกองเดินทางไปค้นคว้าวิจัยเรื่อง ประวัติศาสตร์เมืองนครนายก ที่หอจดหมายเหตุสาธารณะ (The Public Record Office) กรุงลอนดอน อังกฤษ พร้อมทั้งให้สำรวจและศึกษาเอกสารเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย เพื่อถ่ายสำเนาเอกสารมาให้บริการแก่ผู้สนใจ ได้มีถ่ายสำเนาเอกสารมาให้บริการที่ห้องสมุด กปศ.ฯ โครงการดังกล่าวนี้ได้ดำเนินการซ้ำอีกในต้นปี พ.ศ.๒๕๓๖

ปัจจุบัน สำเนาเอกสารทั้งหมด ได้มีการจัดทำบัญชี จัดเข้าฟ้า จัดทำบัตรรายการ ไว้ให้บริการแก่ผู้สนใจค้นคว้า ที่ห้องสมุด กปศ.ฯ แล้ว สำเนาเอกสารมีจำนวนรวม ๓๔ ฟ้า ๔๙ รายการ ๑,๙๐๕ แผ่น

๓. การจัดสัมมนาทางวิชาการ เพื่อเป็นการส่งเสริมการเผยแพร่ความรู้วิชาประวัติศาสตร์ กปศ.ฯ จึงรวมเป็นเจ้าภาพจัดสัมมนากับสมาคมประวัติศาสตร์แห่งประเทศไทยในนาม รร.จปร. ๒ ครั้ง ด้วยกันคือ

๓.๑ เรื่อง ภาษากับประวัติศาสตร์ และความเคลื่อนไหวในวิชาประวัติศาสตร์ไทย จัดขึ้นที่ รร.จปร. ๑๔ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๓ กปศ.ฯ โดย องค์ ผอ.กปศ.ฯ ทรงนำเสนอบทความเรื่อง นครนายกกับสงครามโลกครั้งที่ ๒

๓.๒ เรื่อง หนึ่งศตวรรษสยามใหม่กับเส้นทางสู่อนคต จัดขึ้นที่ รร.จปร. ๑๔ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕ กปศ.ฯ โดย องค์ ผอ.กปศ.ฯ ทรงนำเสนอบทความเรื่อง การจัดการศึกษาของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ากับสยามใหม่ในช่วง พ.ศ.๒๔๓๐ ๒๔๗๕

๔. การจัดนิทรรศการ ระหว่าง ๕ พฤจิกายน ๔ ธันวาคม ๒๕๓๖ กปศ.ฯ ในนามส่วนการศึกษาและหอสมุด รร.จปร. ได้ร่วมกันจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ เรื่อง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการทหาร เนื่องในวโรกาสครบ ๑๐๐ ปี แห่งวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้ได้จัดแสดงภาพและเครื่องใช้ส่วนพระองค์ สมุด หนังสือ ฯลฯ ณ หอสมุด รร.จปร. ระหว่างวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๔ ธันวาคม ๒๕๓๖ โดยเปิดโอกาสให้สาธารณชน หน่วยงานต่างๆ เข้าชม

๕. บทความ่างวิชาการ ภารกิจของอาจารย์ กปศ.ฯ นอกเหนือจากการจัดการเรียนการสอน การวิจัยแล้ว งานเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการต่างๆ ก็เป็นอีกภารกิจหนึ่ง ทาง กปศ.ฯ ได้ดำเนินอยู่บ้างแล้ว (โปรดดูรายการหนังสือ บทความและเอกสารประกอบการสอนของ กปศ.ฯ พ.ศ. ๒๕๓๐ ๒๕๓๖)

๖. แผนงานในอนาคต

๖.๑ การจัดทำแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับจังหวัดนครนายก เพื่อประโยชน์ในการค้นคว้าวิจัยประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดนครนายก ทาง องค์ ผอ.กปศ.ฯ จึงทรงมีพระราชดำริให้ กปศ.ฯ เตรียมจัดทำโครงการฐานข้อมูลเกี่ยวกับจังหวัดนครนายก เพื่อให้บริการแก่นักวิจัยและผู้สนใจ ณ ห้องสมุด กปศ.ฯ

๖.๒ โครงการวิจัยเรื่อง การจัดการศึกษา ใน รร.จปร. เป็นโครงการที่สืบเนื่องจากการค้นคว้าศึกษาเรื่องการจัดการศึกษาของ รร.จปร. กับสยามใหม่ซึ่ง องค์ ผอ.กปศ.ฯ ทรงนำเสนอในการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง หนึ่งศตวรรษสยามใหม่กับเส้นทางสู่อนาคตซึ่งจัดขึ้นที่ รร.จปร. ระหว่าง ๑๔ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕ ขนะนี้อยู่ในระหว่างเตรียมการเสนอโครงการ

๖.๓ โครงการแหล่งเอกสารเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยจากต่างประเทศ เป็นโครงการตามพระราชดำริที่มีพระราชประสงค์จะส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยประวัติศาสตร์ไทยให้ขยายกว้างขวางออกไป ทรงเริ่มโครงการในปี ๒๕๓๕ โดยพระราชทานพระราชทรัพย์ให้อาจารย์ กปศ.ฯ ไปศึกษาการจัดระบบและให้บริการเอกสารประวัติศาสตร์ในประเทศอังกฤษและถ่ายสำเนาเอกสารเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ที่สำคัญกลับมาให้บริการแก่นักวิจัยและผู้สนใจ ขณะนี้ กปศ.ฯ ได้จัดทำโครงการระยะ ๕ ปี (๒๕๓๗ ๒๕๔๑) และได้รับการอนุมัติจากกองทัพบกแล้ว

หมายเหตุหมายเหตุ บทความคัดลอกจากหนังสือ ประวัติศาสตร์ : สายธารสู่อนาคต จัดพิมพ์เนื่องในวโรกาส พลโทหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคาร กองวิชาประวัติศาสตร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า นครนายก ๒๖ ธันวาคม ๒๕๓๖

………………….

กลับหน้าแรก Blog

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณค่ะ สำหรับบทความ